วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561


โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2561

พระณัฐวุฒิ อคฺควฑฺฒโน

แสดงธรรมเรื่อง  โทษของการพนัน

ห้องSPD 4 สภาฯ

*********************

                  เจริญพร นักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาทุกท่านนะ  ก่อนจะเข้าเรื่อง ขอ ประชาสัมพันธ์ โครงการอุปสมบทหมู่ บูชาธรรม วันธรรมชัย ระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม ถึงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561  สมัครที่มหารัตนวิหารคด 1 และ 11  บวชช่วงนี้จะอยู่ในช่วงวันธรรมชัย  เป็นช่วงตรึกระลึกนึกถึงบุญ  ในวันคล้ายวันบวชของหลวงพ่อธัมมชโย  ใครที่มีความประสงค์อยากบวช หรืออยากชวนคนบวช   สามารถชวนบวชได้ในรุ่นนี้นะ  บวชได้ทุกช่วงอายุเลย 

วันนี้มาพบกัน ในเรื่อง โทษของการพนัน   ที่เลือกหัวข้อนี้มา เพราะช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาล ฟุตบอลโลก ประจำปี 2018 ที่ประเทศรัสเซีย ทุกครั้งที่มีฟุตบอลโลก ตามข่าวจะมีการพนันเฟื่องฟูของการพนัน โดยเฉพาะการพนันฟุตบอล  ก่อนถึงตรงนั้น  เตรียมข้อมูลมา  ขอบคุณข้อมูล  ธรรมะจากพระไตรปิฎก , ธรรมะจากหลวงพ่อธัมมชโย, ธรรมะจากหลวงพ่อทัตตชีโว, ธรรมะจากพระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑโฒ)  , วิทยานิพนธ์  จาก http://tdc.thailis.or.th, ขอบคุณ สร้างเสริมสุขภาพ , ศูนย์ข้อมูลนโยบายสาธารณะเพื่อลดปัญหาจากการพนัน , พ.ญ.พรจิร ปริวัชรากุล , นพใพนม เกตุมาน, บทความและข้อมูลในอินเตอร์เน็ต

การพนันคืออะไร ???  การพนันหลายนัยยะ ... การกระทำที่เอาเงินระหว่างบุคคลสองคน  การพนันที่เอาเงินและสิ่งของที่มีค่ากับบุคคลสองคน 

1.ทำนายผลล่วงหน้า  เช่นหวย ฉลากกินแบ่งรัฐบาล

2.การแข่งขัน   จะแข่งขันด้วยตัวเอง   ฝากคนอื่นแข่งขัน  เด็กเล่นเป่ากบ ใครแพ้เสียขนมก็เป็นการพนัน      เด็กดูกีฬาสีความเห็นไม่ตรงกัน ก็เลยพนันกัน  - (เปิดสื่อ VDO สื่อเรื่องการพนัน จาก ส.ส.ส.  )      

ประสบการณ์เล่นพนัน   แรกเริ่มมีคนนั่งอยู่  มีคนมาชวนเอาไหมเล่นพนันกันไหม สนุกนะ ฟุตบอลยูโร  ตอนแรกก็เริ่มจากเพื่อนชวนก่อน เล่นขำ ๆ สนุก ๆ 10 บาท 20 บาท   สนุกด้วย พอเริ่มเป็นก็สนุกกับการพนัน

การเล่นพนันมี 2 อย่าง นักพนันมือใหม่มักจะเล่นได้ เหมือนมีแรงดึงดูดยั่วยวนใจ พอเล่นได้ก็แลกเงินได้เลย ได้เงินง่าย  จึงเริ่มเล่นมากยิ่งขึ้น แต่บางคนก็เสียเล็กน้อย ยังมีเงินอยู่ก็เล่นใหม่เพื่อให้ได้เงินคืนมา     จากเล่นขำ ๆ ก็มาเล่นเยอะขึ้น  บ่อยยิ่งขึ้น บางคนถ้าเสียเงินแล้วตัดใจได้ก็ดี ก็จบอยู่เพียงแค่นี้

ถ้าบางคนเสียเงินแล้วตัดใจไม่ได้ ก็ไปหาเงินมาเพิ่ม ถ้าเงินไม่มีก็ไปหาวิธีง่าย ๆ ก่อน ถ้าเป็นนักเรียน ไปบอกกับผู้ปกครองที่โรงเรียนมีกิจกรรมซื้อตำรา ไปเรียนพิเศษ   ถ้าเป็นผู้ใหญ่ไปขอเงินพ่อแม่ ก็บอกว่าจะเอาไปลงทุนเพิ่ม   ถ้าขอเงินเพื่อน ๆ จะบอกว่าพ่อป่วย แม่ป่วย เงินไม่พอใช้ เดี๋ยวก็เอามาคืน เมื่อได้เงินแล้วก็เอาไปเล่น พอเล่นได้สักพัก แต่สุดท้ายก็เสียหมดเลย

ต่อมาหาวิธีการที่ยากขึ้นโดยการขโมยของที่บ้าน แม่ก็เริ่มสงสัย ไปขโมยของที่โรงเรียน ที่ทำงาน เมื่อของที่บ้าน ที่โรงเรียน ที่ทำงานเริ่มหาย เขาก็เริ่มระวัง จึงไปขโมยอีกไม่ได้ จึงไปขโมยที่อื่น ตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และเริ่มปล้น จี้ ใช้กำลังลักพาตัว แต่ถ้าเป็นผู้หญิงถึงกับต้องไปขายบริการ

ถ้ายังหยุดไม่ได้อีกก็ไปกู้เงินนอกระบบ กู้เงินบัตรเครดิต จำนองบ้าน ขายบ้าน ขายทอง หลังจากนั้นเริ่มฉ้อโกงบริษัท ขายยาเสพติด จี้ทรัพย์ ชิงทรัพย์ สุดท้ายถ้าไม่ได้เงินมาบ้าน ที่ดินก็โดนยึด ถ้าไปกู้เงินนอกระบบมาก็โดนตามทวงหนี้  การพนันนี้เริ่มต้นจากการเล่นขำ ๆ แต่ถ้าใครหยุดเล่นได้ตอนเล่นขำ ๆได้ก็รอดตัวไป  ( เปิดสื่อ VDO โฆษณารณรงค์ เรื่อง การพนัน)  ข้อมูลจากไทยรัฐ วันที่ 5 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2555 คนไทยสูญเสียเงินจากการพนันต่อปี สี่แสนล้านบาท ต่อปี  คนเล่นพนันหวย  และเล่นพนันออนไลน์

สาเหตุของการเล่นพนัน  มีหลายสาเหตุ   1.เพื่อนชวน    2.ได้อิทธิพลจากสื่อ และสิ่งที่ยั่วยุ    3.สิ่งแวดล้อมที่พักอาศัย  ใครอยู่ใกล้การพนัน มีสิทธิ์เล่นสูง     4.พันธุกรรม  ถ้าปู่ ย่า ตา ยาย ทวด เล่นการพนัน มีแนวโน้มที่บุตรหลานจะเล่นการพนัน ตามหลักวิทยาศาสตร์ ถ้าตามหลักพระพุทธศาสนา พันธุกรรมก็จะดึงดูดกัน คนเล่นการพนัน  ก็จะดึงคนเล่นการพนันมาหา  คนเราคบกันด้วยธาตุ ธาตุเหมือนกันก็อยู่ด้วยกัน  คนดีก็อยู่กับคนดี     5.อยากลอง อยากสนุก อยากตื่นเต้น    6.อยากมีเงิน  เป็นการเสี่ยงโชค  บางคนคิด ...    7.อยากเด่น อยากประสบความสำเร็จ  เชื่อมั่นในโชคของตัวเอง  เราเป็นคนโชคดี

 

รูปแบบการพนัน (รูปแบบในปัจจุบัน ถ้าเราเอามือถือเป็นเกณฑ์)   1.ออฟไลน์ เช่น ซื้อหวย ดูมวย แข่งม้า ตีปลากัด ไฮโล เป็นต้น    - นาน ๆ จะได้เล่นการพนันสักครั้ง หวย ทุก ๆวันที่ 1 และ 16 ของเดือน    - จะต้องมีการเดินทาง มีการเล่นการพนันระหว่างบุคคล

2.ออนไลน์ ต่ออินเตอร์เน็ตแล้วเล่นได้เลย เช่นพนันฟุตบอล ผ่านแอปพลิเคชัน ผ่านเว็บพนันต่าง ๆ   - เข้าถึงได้ทุกที่ ขอให้มีอินเตอร์เน็ต เล่นได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานที่   - ไม่ต้องใช้เงินสดจริง เงินอยู่ในบัญชี เมื่อไม่ได้จับเงินจริงความตระหนักของคุณค่าของเงินก็น้อยลง   - กฎหมายไม่แพร่หลาย กฎหมายก็พยายามออกมา บางคนก็รู้ บางคนก็ยังไม่รู้    - จุดอ่อนที่ทำให้คนไม่เล่นเยอะ เพราะกลัวถูกโกง และเป็นของใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคย ขาดการปฏิสัมพันธ์กันกับขาพนันด้วยกัน   สรุปว่าออนไลน์ เป็นสิ่งที่น่ากลัว นึกถึงสมัยที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ ที่ท่านบอกว่า มี TV เข้ามาถึงบ้านแล้ว ท่านบอกว่าฉิบหายแล้ว แต่ปัจจุบัน มีโทรศัพท์มือถือยิ่งอันตรายมากกว่า

 

แบบสำรวจการติดการพนัน    1.ใช้เวลาในการเล่นการพนัน นาน และบ่อย   2.คิดหมกมุ่นกับการพนันตลอดเวลา    3.ถ้าไม่ได้เล่นการพนันจะรู้สึกกระวนกระวายและหงุดหงิด  4.ต้องพนันด้วยเงินจำนวนมาก   5.เล่นเพื่อหลบเลี่ยงปัญหา เพื่อไม่ให้ตนคิดถึงปัญหา   6.ต้องเพิ่มเงินเพื่อความตื่นเต้นเร้าใจ    7.สงสัยว่าตัวเองติดการพนัน   8.มีปัญหาเรื่องสุขภาพ อารมณ์เสีย ก็ไปเล่นการพนัน   9.มีคนกล่าวหาว่าติดการพนัน   10.มีปัญหาด้านการเงิน    ลองไปสำรวจดูว่าคนข้าง ๆ ถ้ามีแบบนี้มากข้อก็แสดงว่าติดการพนัน

โรคติดการพนัน    1.เป็นโรคติดการพนัน ต้องไปหาหมอเพื่อรักษา    2.เป็นโรคจิตเวชอย่างหนึ่ง องค์การอนามัยโลกประกาศว่าคนที่ติดเกมเป็นโรคจิตเวชโรคหนึ่ง  (- เปิด VDO การพนันภัยร้ายทำลายสมอง)

 

คำว่าซึมเศร้า แบ่งออกได้ 2 อย่างคือ   1.อาการซึมเศร้า (สักพักเดี๋ยวก็หาย)    2..โรคซึมเศร้า (ต้องรักษาจึงจะหาย ต้องพาไปหาหมอเพราะเป็นเกี่ยวกับสมองเกี่ยวกับสารเคมีในร่างกาย)    โดยสรุป การพนันเหมือนกับยาเสพติดประเภทหนึ่งทำไปเรื่อย ๆจะติดทำให้ ทำให้เกิดความหมกมุ่นควบคุมตัวเองไม่ได้ มันจะไปตอบสนองกับระบบการให้รางวัล คนเราชอบที่จะได้รับรางวัล มาตั้งแต่เด็ก สำหรับผู้ใหญ่บางคนก็ชอบการได้รับรางวัลมาก การได้รับรางวัลตรงนี้ ถ้าจะให้คนเรียนเก่งและได้รับรางวัลปลายปีได้รับเกรด 4.00 ผลการเรียนมันช้า แต่ถ้าเป็นกีฬาโรงเรียนไปแข่งก็ต้องซ้อมหลายวัน ถ้าชนะก็ได้รับรางวัล วงจรนี้มันช้า

โทษของการพนัน ในพระไตรปิฎก ( สิงคาลกสูตร )  1.ผู้ชนะย่อมก่อเวร    2.ถ้าเป็นคนแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป   3.ทรัพย์ย่อมฉิบหาย   4.ไม่มีใครเชื่อถ้อยคำ   5.เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน   6.ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย   โทษของการพนันมีเยอะมาก ที่พระพุทธเจ้าให้มา 6 ข้อเพราะพระองค์เทศน์สิงคาลกสูตรกับคนอายุไม่เยอะ ถ้าท่านจะเทศน์มาสัก 20 ข้อสิงคาลกะ ก็จำได้ไม่หมด เรื่องสิงคาลกะก็อยู่ในทิศ 6 ปฏิบัติกลับไปกลับมา พระองค์ต้องการให้สิงคาลกะพอรู้ว่ามีโทษนะ ที่ไม่ได้ให้เกี่ยวกับเรื่องภพชาติหน้าเพราะสิงคาลกะมีพื้นจะรับได้เพียงเท่านี้

 

เมื่อชนะย่อมก่อเวร คนแพ้ไม่มีใครดีใจ แต่ก็มีบ้างแกล้งแพ้เพื่อให้เขาได้แต่ก็มีน้อย     เมื่อเป็นคนแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป ทรัพย์ย่อมฉิบหาย มีคำกล่าวว่าโจรปล้น

สิบครั้งยังไม่   ท่าไฟไหม้หนึ่งครั้ง  ไฟไหม้สิบครั้งยังไม่เท่าเสียการพนันแบบเต็มที่

ไม่มีใครเชื่อถ้อยคำ ถ้าเป็นคนขี้พนันไม่มีใครเชื่อ ถ้าเรื่องนั้นเป็นเรื่องจริงถ้าบอกว่าขอยืมเงินหน่อยแม่ไม่สบาย ย่อมไม่มีใครให้

เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน ๆ ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย  เพิ่มเติมโทษการพนัน ถ้าเสียเงินมาก ๆ ก็ต้องหาเงินมาเพิ่ม ก็ต้องก่อวงจรบาปเพิ่มขึ้น ขโมย ปล้น ทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ขายยาเสพติด ขายบริการทางเพศ เรียกค่าไถ่ ทุกอย่างที่เป็นทางไม่ดี อาชญากรรมเกิดขึ้น มีปัญหาในครอบครัว ไม่มีสมาธิในการทำงาน ยักยอกทรัพย์ ของหาย ไม่มีสมาธิในการเรียน เพื่อนไม่คบ เจ้าหนี้ตามทวง

หลวงพ่อทัตตชีโวท่านเทศน์เรื่องการพนัน ท่านบอกว่าใจของคนที่คิดจะพนัน เป็นใจที่คิดแต่จะให้คนที่เล่นด้วยมีแต่ความฉิบหาย มีแต่ทำให้ล่มจม คนที่เล่นการพนันอยู่บ่อย ๆ ใจจะคิดให้คนอื่นเกิดหายนะตลอดเวลา มันก็จะดึงดูดหายนะเข้ามาสู่ตัวเอง ทำผิดอย่างอื่นบางทีก็ยังไม่ได้คิดให้คนอื่นเสียหาย เช่นคนกินเหล้า ก็ไม่ได้คิดให้คนอื่นฉิบหาย  (เปิด VDO โทษของการพนัน)

- ป้องกันการพนัน   เราจะตระหนักถึงโทษภัยของการพนัน พ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้องคอยสอดส่องดูแลบุตร หลาน ต้องเป็นหูเป็นตาอย่าให้ไปติดการพนัน ต้องให้ความอบอุ่น ให้ความรู้ด้วยวิธีการที่หลวงพ่อทัตตชีโวท่านบอกวิธีที่ดีอย่างหนึ่งให้กินข้าวด้วยกัน พ่อแม่จะได้สอนผ่านการกินข้าว

ส่วนวัด คณะสงฆ์ ผู้นำศาสนาต่าง ๆ ต้องคอยให้ความรู้ด้านการพนัน เพื่อน ๆก็อย่าพยายามชักชวนกันไปเล่นพนัน ที่ทำงานก็ต้องคอยสอดส่องดูแล ที่สำคัญคือเรื่องของสื่อต้องไม่ชี้นำให้ไปเล่นการพนัน ห้ามบอกว่าที่บอกไม่ส่งเสริมให้เล่นการพนัน แต่ไม่อยากให้คุณเสียรู้ ต้องบอกไปเลยว่าไม่เล่นการพนัน ถ้าดูกีฬาก็ดูเพื่อความสนุกสนาน เพื่อความบันเทิงไม่เล่นการพนัน ภาครัฐก็ต้องคอยควบคุมดูแลออกกฎหมาย

ถ้าในทางธรรม หมวดธรรมมงคลชีวิต 38 ประการ ในหมวดแรก ๆ ที่ทำให้ตัวเองมีความพร้อมในการสร้างบารมี

1.ไม่คบคนพาล อบายมุขที่อันตรายที่สุดคือการคบคนพาล ส่วนอื่น ๆที่ตามมาคือเกียจคร้าน กินเหล้า เจ้าชู้ เล่นการพนัน

2.ต้องคบบัณฑิต

3.บูชาบุคคลที่ควรบูชา

4.อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม  ถ้าไม่มีให้เลือกก็สร้างถิ่นที่เหมาะสม

5.มีบุญวาสนามาก่อน

ต้องหมั่นทำดี ก่อนที่จะทำอะไรสักอย่างจะต้องมีความรู้ ศาสนาของเราเริ่มต้นจาก ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ  ต้องมีข้อมูลก่อน เรื่องราวต่าง ๆ ถ้าอยากให้ทุกท่านทำให้ถูกต้อง จะเริ่มต้นด้วยการให้ความรู้


วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561


โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
วันพฤหัสบดี ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561
พระรณชัย รณญฺชโย  แสดงธรรมเรื่อง ชีวิตสมณะ
ห้อง SPD 4 สภาธรรมกายสากล
**********************

                     ขอความเจริญรุ่งเรืองในธรรม แห่งองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จงบังเกิดมีแด่นักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาผู้มีบุญทุกท่าน 

                     วันนี้สวดธัมมจักรไปแล้ว 555,123,432  เป้าหมาย 585,858,585  สวดธรรมจักรดีกว่า เพราะเป็นถ้อยคำอันประเสริฐ บริสุทธิ์สะอาดสูงส่ง   ที่จะนำไปสู่สิ่งดี  ที่เกิดขึ้น  สภาวะโลกร้อน จะถูกปรับให้ดีขึ้น  ดังสวรรค์บนดิน   นี่เป็นถ้อยคำอันบริสุทธิ์   เราสวดกันมานานยิ่งสวดยิ่งสวดยิ่งปลื้ม ยิ่งสวดยิ่งปิติ สวดแล้วมันซึ้งเข้าไปข้างในทีเดียว สวดแล้วตัวเบาๆ  นี่แหละที่สวดแล้วเห็นเห็นธรรม  

                    ตอนนั้นอยู่ประตู 5 ขนาดแม่บ้านทำงานไป ก็สวดเอวัมเม สุตตัง   ได้ยินเสียงทั้งวันทั้งคืน เป็นความสุข  แล้วยังมาคัดหินเกร็ดอีก นี่เป็นสิ่งที่แยบยล แยกดีแยกชั่ว  แยกสิ่งหม่นหมองออก  เจอสิ่งปนเปื้อนที่มีแต่ความใสบริสุทธิ์ที่เป็นอุบายธรรมะ   อย่าทำเป็นเล่นไป  ว่าอย่างไร ก็ว่าตามกัน  ใครพูดอะไร  เราก็ทำแต่สิ่งที่ดี ๆ  

                  วันนี้จะมาเล่าเรื่องการบวช ชีวิตสมณะ เรามาเรียนรู้ว่า ในสมัยพุทธกาลคนออกบวช ไม่ธรรมดานะ   ขนาดว่าเป็นสุขุมาลชาติ      พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความพร้อมทุกอย่าง   ยังออกบวช   วันนี้มาเล่าเรื่อง พระอนุรุทธะ ผู้เป็นเอตทัคคะทางด้านทิพยจักขุญาณ เป็นโอรสพระเจ้าอมิโตทนะ พระเจ้าอาพระพุทธเจ้า มีพระเชษฐาพระนามว่าเจ้าชายมหานามะ มีน้องสาวพระนามว่า พระนางโรหิณี เมื่อพุทธองค์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   มาโปรดพระประยูรญาติ ศากยวงศ์ทั้งหมด   เจ้าชาย 1000  องค์ไปบวช   ใครไม่บวชเชยนะ

                   พี่น้องปรึกษากัน ว่า  ตระกูลเรายังไม่มีผู้ใดออกบวชตามพระศาสดาเลย  เรา 2 พี่น้อง คนหนึ่งต้องออกบวช ไม่มีใครออกบวชจะเสียเกียรติตระกูลเรา เจ้าชายมหานามะให้เกียรติน้องก่อน เพราะเจ้าชายอนุรุทธะเป็นลูกองค์เล็ก เป็นที่รักของพระบิดา มารดา  เลี้ยงดูอย่างทะนุถนอม เป็นที่โปรดปรานพระประยูรญาติ คอยเอาอกเอาใจ ตั้งแต่ประสูติจนหนุ่ม   (เพลง...พระพุทธเจ้า...)

                  เจ้าชายอนุรุทธะ ยังไม่รู้เลยว่า การบรรพชาคืออะไร พี่ชายอธิบายว่า การปลงพระเกศา และหนวด นุ่ง ห่ม ผ้ากาสาวพัสตร์ บรรทมเหนือพื้นดิน บิณฑบาตเลี้ยงชีพด้วยกิจของสมณะ น้อง บอกว่า เราจะทำได้ไง  เราเป็นสุขุมาลชาติ ไม่เคยทุกข์ยากลำบาก ..มองการบวชว่าลำบาก  ความจริง ๆ ก็ลำบากเหมือนกันนะ หลวงพี่กะว่ามาบวช มานั่งสมาธิ ได้ยินเพลงชีวิตสมณะ ชอบมากเลย นั่งฟังแล้วมันอินเข้าไปเลย  อยากจะออกบวช ครองเรือนมันทุกข์เหลือเกิน ทำไมผู้ชายต้องบวช ... บาบู มาจากอินเดีย ได้นักบวช 1 คนแล้ว  (วีดีโอ ทำไมผู้ชายต้องบวช...)

     การบวชเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่ตอบคุณพ่อแม่ดีที่สุด ตามที่พระพุทธเจ้าให้หลักการไว้ว่า แม้เราจะเลี้ยงท่านให้สุขสบายเพียงไร ก็ไม่ขึ้นชื่อว่าแทนคุณท่านหมด หากยังไม่สามารถทำให้พ่อแม่มีศรัทธา มีศีล มีจาคะ และมีปัญญาในพระพุทธศาสนา พระอนุรุทธะบอกว่า เสด็จพี่..หม่อมฉันไม่เคยทุกข์ยากลำบาก ให้พี่ไปบวชเถอะ พี่บอกว่า อนุรุทธะ...อย่างนั้นต้องศึกษางาน การครองเมืองให้เข้าใจ ต้องครองราชย์ดูแลปกครอง

   เจ้าชายอนุรุทธะ เป็นที่เอาอกเอาใจจากพระประยูรญาติ  ไม่รู้จักแม้กระทั้งคำว่าไม่มี  เรื่องมีอยู่ว่า เจ้าชายอนุรุทธะ เล่นตีคลีกัน สำหรับปัจจุบันเหมือนการเล่นฮอกกี้ ก็ตกลงกับเพื่อนว่า ใครเล่นแพ้ต้องเสียขนม เจ้าชายอนุรุทธะติดต่อกัน 3 ครั้ง  ทุกครั้งที่แพ้ ก็ให้มหาดเล็กไปเอาขนมมาเลี้ยงเพื่อน ๆ   แม้ครั้งที่ 4 ก็แพ้ ปรากฏว่าขนมหมด เมื่อมหาดเล็กไปเอา เสด็จแม่บอกว่าขนมไม่มี  มหาดเล็กวิ่งไปบอกเจ้าชาย   เจ้าชายก็บอกว่า ให้เอาขนมไม่มีนั่นแหละมา  
  เสด็จแม่คิดว่าจะสอนลูกว่า คำว่าไม่มีเป็นยังไง เอาถาดทองคำ มีฝาครอบ แล้วส่งไปให้ เพื่อจะสอนลูกว่าคำว่าไม่มีคือมันว่างเปล่า  แต่ปรากฏว่าเทวดาที่เฝ้าประตูเมืองต้องเนรมิตให้ เพราะเจ้าชายอนุรุทธะเคยอธิษฐานจิตไว้ว่าขออย่าได้รู้จักคำว่าไม่มี  ให้มีแต่คำว่ามี  เทวดาก็เนรมิตที่ขนมไม่มีให้เต็มถาดเลย พอเปิดถาดทองคำ กลิ่นหอมไปทั้งเมือง เจ้าชายอนุรุทธะทานกับเพื่อน สนุกสนานเพลิดเพลิน คิดว่า เสด็จแม่ไม่รัก เพราะอยู่มาตั้งนานทำไมถึงเพิ่งได้ทานขนมไม่มี  ต่อไปให้เสด็จแม่ทำขนมไม่มีทุกวัน   (สกู๊ป...โรนัลโดกับเส้นทางสู่ความฝัน นักฟุตบอลระดับโลก...)

                       เจ้าชายอนุรุทธะถามว่า การงานคืออะไร ... เจ้าชายมหานามะ  ยกตัวอย่างเรื่องการทำนา... ต้องไถนา ...แล้วเทือก ...ดำนา ... เสร็จแล้วเพาะ  ...ข้าวปลูก ต้องเลือกพันธุ์ ..เอาเมล็ดพันธุ์ ไปแช่เกิดงอกเล็กน้อย ... ทำให้เป็นแปลงนา ...เอาน้ำเข้าน้ำออกให้พอดี ..เพื่อให้มีปริมาณที่ชื้นพอ ทำให้ข้าวงอกขึ้น ..ดูแล ..รักษา .. เก็บเกี่ยว ..นวด.. นำข้าวมาเก็บในยุ้งฉาง กว่าข้าวจะมาทานได้ อย่างนี้แหละเรียกว่า การงาน     

                       เจ้าชายอนุรุทธะถามว่า แล้วการงานนี่สิ้นสุดเมื่อไหร่  มหานามะตอบว่า ไม่มีสิ้นสุด  เพราะเมื่อถึงฤดูกาลต้องทำอย่างนี้ตลอด  วนเวียนไป  หาที่สุดไม่ได้  เจ้าชายอนุรุทธะ ไม่เคยรู้แม้กระทั่งข้าวที่ทานอยู่ทุกวันนี้เกิดจากที่ไหน  เมื่อฟังแล้วเกิดความท้อใจ   เลยบอกว่า งานมันยุ่ง  เสด็จพี่ทำเถิด  น้องขอออกบวชแทน ก็แล้วกัน     (โฆษณา...การให้...)

                         เจ้าชายมหานามะบอกว่า การงานไม่มีที่สิ้นสุด การบวชยังมีที่สิ้นสุด แล้วพากันไปขอเสด็จแม่  แต่ไม่ยอมให้บวช  ตรัสห้ามถึง 3 ครั้ง  เจ้าชายอนุรุทธะยืนยันจะบวชให้ได้ ถ้าไม่ทรงอนุญาต ขอตายดีกว่า  แล้วยอมอดข้าว เสด็จแม่บอกว่า ถ้าลูกอยากบวช ก็ไปชวนเจ้าชายภัททิยะ เพราะคิดว่าเป็นโอรสองค์เดียว พ่อแม่เจ้าชายภัททิยะ  คงไม่ให้บวช  

                         เจ้าชายอนุรุทธะก็ไปชวนเจ้าชายภัททิยะบวช  แต่เจ้าชายภัททิยะไม่ยอมบวช เจ้าชายอนุรุทธะบอกว่า เราจะบวชได้ก็เนื่องด้วยท่าน ท่านจะบวชได้ก็เนื่องด้วยเรา เจ้าชายอนุรุทธะ  พยายามชวนเจ้าชายภัททิยะบวชให้ได้   เจ้าชายภัททิยะไม่ยอมบวช  คิดว่าเป็นโอรสองค์เดียว  จะต้องครองราชย์บริหารบ้านเมือง   เจ้าชายอนุรุทธะไม่ละความพยายาม นอนเฝ้าเลย 7 วัน  (เพลง...ชวนบวช...)

                       หลังจาก 7 วันแล้ว เจ้าชายภัททิยะจึงยอมบวชด้วย วันออกบวชเจ้าชายทางศากยะ 6 ท่าน เจ้าชายภัททิยะ-อนุรุทธะ-อานนท์-ภัคคุ-กิมพิละ ฝ่ายโกลิยะ 1 องค์ เจ้าชายเทวทัต รวมอุบาลี เป็น 7  อุบาลีเป็นอำมาตย์ ช่างกัลบก (ช่างตัดผม) ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่อนุปิยอัมพวัน เมืองพาราณาสี  ระหว่างทางเจ้าชายทั้ง 6 เปลื้องเครื่องประดับ ให้อุบาลีนำไปขายเพื่อเลี้ยงชีพ

                       อุบาลีนำเครื่องประดับกลับกรุงกบิลพัสดุ์ คิดขึ้นมาได้ว่า...  ธรรมดาศากยะทั้งหลาย มีความดุร้าย ถ้านำเครื่องประดับกลับไป  เจ้าเมืองทั้งหลายอาจจะคิดว่า เราไปทำร้ายราชกุมารหรือเปล่า เราถึงความตายแน่นอน เอาอย่างนี้ เจ้าชายยังสละสมบัติออกบวช แล้วเอามาให้เรา ไม่ใยดีกับสมบัติ ตัวเราเองมีอะไรดีนักหนา ถึงจะมารับเอาสิ่งของที่ทิ้งดุจก้อนเขฬะไปดำรงชีพ  แล้วเอาสมบัติทั้งหมดใส่ถุงแขวนไว้ที่ต้นไม้  ใครจะเอาไปเอาไป เราอนุญาตแล้ว คิดอย่างนี้สมบัติไม่มีความหมาย  เพราะกำลังหาสมบัติภายใน แล้วอุบาลีกลับไปหาเจ้าชายเหมือนเดิม 

                         ฝ่ายเจ้าชายเมื่อเห็นอุบาลีกลับมา  ก็กราบทูลพระพุทธองค์ว่า ... ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เป็นกษัตริย์ มีขัตติยมานะแรงกล้า ขอพระองค์ทำการบรรพชาแก่อุบาลี ผู้เป็นอำมาตย์รับใช้ปวงข้าพระองค์ก่อนเถิด เพื่อข้าพระองค์ทั้งปวงจะได้แสดงความคาราวะกราบไหว้อุบาลี  ตามประเพณีนิยมพุทธสาวก จะได้ปลดเปลื้องขัตติยมานะให้หมดสิ้นไป จากกมลสันดาน          

                         ตามธรรมเนียมของพระบวชก่อนจะเป็นภันเต  บวชที่หลังเป็นอาวุโส ไม่ใช่อายุเยอะ พระก็ยังมีทิฏฐิมานะ  ถึงต้องลด เหมือนมะม่วงยังไม่ลืมต้น  สมัยคุณยายอาจารย์ฯ ใครจะบวชต้องอยู่เป็นอุบาสกก่อน ขัดห้องน้ำก่อน ล้วงโถมือเปล่าด้วยนะ ล้วงมือเปล่า ทั้งพระ ทั้งอุบาสิกา  ล้วงยิ่งลึก ยิ่งสว่าง ยิ่งสว่าง ยิ่งใส  บางคนหลุดโล่งเหมือนทิฐิมานะอยู่ในตัวถูกขัดออก   

                         เจ้าชายทั้งหลายให้อุบาลีบวชก่อน พระอนุรุทธะเมื่อบวชแล้ว  สำเร็จทิพย์จักขุญาณ ภายหลังฟังพระธรรมเทศนา มหาปุริสวิตกสูตร ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระอานนท์ บรรลุเป็นอริยบุคคลชั้นพระโสดาบัน  พระภัคคุ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน บรรลุเป็นพระอรหันต์     พระกิมพิละเจริญวิปัสสนากรรมฐาน แล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระเทวทัต บรรลุธรรมชั้นฤทธิ์ปุถุชนอันเป็นโลกิยะ  พระอุบาลี ศึกษาพุทธพจน์ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน บรรลุเป็นพระอรหันต์ภายในพรรษานั้น เข้าพรรษาเข้าถึงธรรม  (เพลง...เข้าพรรษาเข้าถึงธรรม...)

                          บวชให้แม่หน้าฝน ดีกว่าบวชให้แม่หน้าไฟ เหลืออีกกี่วันจะเข้าพรรษา 30 วัน ประมาณ 1 เดือน เขาแก้วเสด็จสมัครมาแล้ว 30 ท่าน การแนะนำที่ดีคือการออกบวช คนมี 3 ประเภท อยากบวช ไม่อยากบวช ขอคิดดูก่อน  แจ้งข่าวการบวช

                         พระพุทธเจ้าจะบังเกิดหรือไม่บังเกิด เอาตัวรอดได้บางคนต้องให้พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น แล้วไปสอนถึงจะเอาตัวรอด ฝึกพระให้รู้จักสงเคราะห์ให้ทาน พระนำให้ทำ ทำให้ดู อยู่ให้กำลังใจ ญาติโยมเห็นพระทำบุญด้วย  (สกู๊ป...สัมภาษณ์พระ บวชแล้วได้อะไร...)

                        ขออนุโมทนากับนักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาทุกท่าน สุดท้ายนี้ก็ขอให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญ ร่างกายแข็งแรง อายุขัยยืนนาน ถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในได้โดยง่าย โดยเร็วพลัน จงทุกท่านทุกประการเทอญ เจริญพร


วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561



โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2561

พระมหาคมเพชร ธมฺมวชิโร

แสดงธรรมเรื่อง ทำอย่างไรให้ปลื้มในบุญ

ห้องSPD 4 สภาฯ

********************************

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คุณของพระธรรม และพระสงฆ์  ขอความเจริญรุ่งเรืองในพระสัทธรรมจงมีแด่นักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาทั่วโลกทุกท่านนะ  และขอเจริญพรนักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง ทั้งที่นั่งชมถ่ายทอดสดที่ห้อง spd 4 และที่ติดตามชมทางช่อง GBN ทั่วโลก คาดว่าน่าจะดูกันหลายร้อยพันล้านคน... ไม่ได้เจอกันนานพอสมควร หลังจากห่างหายไปจากวงการ  วันนี้ก็ได้กลับคืนวงการมาอีกครั้งหนึ่ง  ครั้งนี้เป็นการแสดงธรรมครั้งที่เท่าไหร่.... วันนี้ก็คิดว่าจะนำเรื่องราวดีๆ มามอบให้กับนักเรียนทุก ๆ คน   นึกอยู่หลายวัน

บังเอิญมีโยมมาถามปัญหาหลวงพี่ ถามว่า.. โยมเป็นไรไม่รู้ช่วงนี้ ทำบุญแล้วไม่ค่อยปลื้มเลย ไม่รู้เป็นเพราะอะไร ..พอได้รับคำถาม  หลวงพี่ไม่ได้ตอบคำถามทันที แต่ต้องไปหาข้อมูลก่อน จริง ๆ แล้วคำถามนี้ถูกถามบ่อย  และเคยเจอหลายๆท่านที่ทำบุญทำความดีหลายๆอย่าง แต่พอทำไปแล้วไม่เกิดความปลื้ม ไม่เกิดความปีติ ไม่เกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราทำ  มันมาจากสาเหตุอะไร พระอาจารย์ต้องไปค้นคว้ามาก็เลยได้มาส่วนหนึ่ง คิดว่ายังไม่หมด  วันนี้ลองนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักเรียนอนุบาลฝันในฝันร่วมกันว่า การจะทำบุญแล้วให้ปลื้มจะต้องทำอย่างไร และการที่เราทำแล้วไม่ปลื้มมีสาเหตุอะไรบ้าง

 

ทีนี้มาดูเรื่องนี้ก่อน คำว่า ปลื้ม เป็นคำทั่วไปที่เราใช้กันคุ้นเคย แต่ศัพท์ในพระพุทธศาสนาที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าปลื้มก็คงเป็นคำว่า ปีติ  ….ปีติ มี 5 ประการ 

1.ขุททกาปีติ หมายถึงปีติเล็กน้อย ปีติชั่วครั้งชั่วคราว บางทีมีอาการขนลุกชูชัน น้ำตาซึมด้วยความยินดี

2.ขณิกาปีติ หมายถึง ปีติชั่วขณะ เช่น มีความรู้สึกซู่ซ่าขึ้นมาเหมือนฟ้าแลบแปลบปลาบ

3.โอกกันรติกาปีติ หมายถึง ปีติชั่วขณะเป็นระลอก ๆ มีระยะความปีติยาวออกมาอีกนิดหนึ่ง เปรียบเสมือนคลื่นกระทบฝั่งเป็นระลอก ๆ

4.อุพเพงคาปีติ หมายถึง ปีติแบบโลดโผน คือ ปีติจนกระทั่งทำบางอย่างที่ไม่คาดฝันมาก่อน เช่น อุทานออกมาด้วยความปีติบางท่านเคยเห็นคนนั่งสมาธิตัวสั่น นั่นก็เป็นอาการของอุพเพงคาปีติ

5.ผรณาปีติ หมายถึง ปีติซาบซ่าน เป็นปีติที่เกิดแล้วทำให้รู้สึกชุ่มชื่นใจและซาบซ่านไปทั้งตัว เป็นปีติที่น้อมใจให้สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ

ปีติทั้ง 5 แบบจะไม่ได้เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว หมายความว่าบางครั้งก็เกิดผสมผสานกัน ในช่วงขณะนั้นที่เราเกิดความปลื้มในบุญหรือปีติในบุญก็จะมีอาการเหล่านี้ อาการเหล่านี้เรียกว่าอาการของความปีติที่เกิดขึ้นจากบุญ คนที่จะรู้ก็คือเราเอง เราจะรู้เองว่าเราปลื้มมากหรือน้อย ปีติมากหรือน้อย เราจะรู้ตัว เราจะมีเครื่องวัดในใจของเราเอง ซึ่งแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน บางครั้งเราทำสิ่งที่เหมือนกัน อย่างเดียวกัน แต่เราเห็นคนข้าง ๆ เขาปลื้มมากน้ำตาไหลดีใจ แต่เรารู้สึกว่าเราเฉย ๆ ก็มีนะ แสดงว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นไม่เหมือนกัน แต่ละบุคคลก็จะแตกต่างกันไป ไม่มีใครบอกได้ว่าใครปลื้มมากปลื้มน้อยมีแค่เราที่รู้

ความปีติ หรือ ความปลื้ม มีผลต่อบุญในตัวเราอย่างไร ?

ในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราเคยฟังเรื่องของการทำทาน ตรัสไว้ว่า การทำทานให้ได้บุญมากจะต้องประกอบด้วยความบริสุทธิ์ 3  อย่าง ดังนี้

1.วัตถุบริสุทธิ์ หมายถึง วัตถุที่ถวายเป็นทานต้องได้มาด้วยความถูกต้องชอบธรรม ถ้าเป็นของที่ขโมยมา บุญก็ลดลงไปตามส่วน

2.เจตนาบริสุทธิ์ คำว่า เจตนาบริสุทธิ์จะสัมพันธ์กับคำว่าปลื้ม

3.บุคคลบริสุทธิ์ หมายถึง ผู้รับทานของเราเป็นผู้บริสุทธิ์ ยิ่งบริสุทธิ์มาก บุญก็มากขึ้นไปตามส่วน

วันนี้จะพูดถึงเจตนาบริสุทธิ์ คือความปลื้ม ที่เป็นตัวผลที่ทำให้บุญในตัวเรามากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่ตรงนี้

สมมติว่าเรามีวัตถุทานเหมือนกัน ถวายทานกับบุคคลเดียวกัน แต่บุญที่เราจะได้ยังไม่ได้บอกว่าอาจจะเท่ากันก็ได้ เพราะยังมีอีกตัวหนึ่งคือ ความปลื้ม จะเป็นตัวบอกว่าได้บุญมาก หรือได้บุญน้อย

(โอวาทของคุณครูไม่ใหญ่   (ทำบุญแล้วไม่ปลื้ม ก็ขาดทุน)    ทำบุญแล้วอย่าเสียดาย...ให้ปลื้ม ทำครั้งเดียวต้องปลื้มล้านครั้งจึงจะถูกต้อง   ทำบุญครั้งเดียว ปลื้มไปล้านครั้ง ทำสองครั้งก็ปลื้มไปหลาย ๆ ล้านครั้ง   ทำนับครั้งไม่ถ้วน ก็ต้องปลื้มกันนับครั้งไม่ถ้วน นั่นแหละจะเป็นทางมาแห่งบุญ)

ใช้ความพยายามเพิ่มไหมการที่เราจะต้องปลื้ม ปลื้มบ่อยๆ นึกบ่อยๆ เราทำทานไปแล้ว อันนี้พูดถึงทานอย่างเดียว จริง ๆ มีอีกหลายอย่างทั้งศีล ภาวนา การทำงานพระพุทธศาสนา เราลงมือทำไปแล้ว   แต่การที่เรามานึกปลื้มครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 เพราะเจตนาที่พูดถึงความปลื้มมี 3 ระยะ

1.ก่อนทำ รู้สึกอย่างไรปลื้มไหมกับสิ่งที่เราจะทำ เหมือนก่อนที่จะมาโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา ก็คิดแล้ว เดี๋ยววันนี้จะไปฟังธรรม แต่ยังไม่ได้มาหรอกนะ แต่ตั้งใจแล้วว่าจะมา ความปลื้มเกิดขึ้นแล้ว ...บุญเกิดขึ้นเกิดขึ้นแล้ว พอถึงเวลาพระอาจารย์มาแสดงธรรม เราก็มาด้วยความตั้งใจไว้  ความปลื้มและบุญก็เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นเป็นระยะที่ 2

ซึ่งระยะแรกและที่ 2 เวลาอาจจะสั้นๆ ไม่นานหรอก แต่ระยะที่ 3 เป็นระยะอนันต์เลยนะ คือมันนานมากแล้ว  แต่เราเป็นผู้กำหนด เราจะปลื้มไป 1 ปี 10 ปี 20 ปี 30 ปี 50 ปี ผิดไหม .... ต้องปลื้มไปจนถึงวันตายเลย   จริง ๆ ถ้าเราย้อนไปปลื้มชาติที่แล้วได้จะดีมากเลย จะได้นึกเมื่อชาติที่แล้วเราก็ทำความดีตรงนี้อยู่ เมื่อชาติโน้นเราก็ทำความดีตรงนี้ คงจะปลื้มน่าดู

เพราะฉะนั้นต้องไปเข้าถึงธรรมให้ได้จะได้ไประลึกชาติ จะได้ปลื้มต่อเนื่อง โอวาทต่อมาท่านบอกว่า   ทำบุญให้ปลื้ม    เราใช้บุญเก่าทุกวัน บุญก็จะหมดลงไปเรื่อย ๆ เหตุนี้จึงมีคำว่า บุญหมด ก็หมดสิทธิ์ใช้ทุกสิ่ง เพราะฉะนั้นเราต้องสั่งสมบุญเอาไว้มาก ๆ  และต้องรู้สึกปลื้มปีติด้วย หากยังไม่ปลื้ม ก็ทำอีกจนกระทั่งรู้สึกปลื้มให้ได้

เพราะความปลื้มทำให้เกิดปัสสัทธิ  (ความสงบกายสงบใจ)  เกิดขึ้น และ ปัสสัทธิ ทำสมาธิให้เกิด  เราใช้บุญเก่าทุกวัน   การทำบุญจนเกิดความปลื้มปีติ เป็นการทำที่ถูกหลักวิชชา เพราะหากปลื้มมาก ปีติมาก จะมีผลทำให้บุญส่งผลเร็ว หากปลื้มแล้วยังตามนึกถึงบุญได้อย่างบ่อยครั้งมากเท่าไหร่ก็จะมีผลต่อจำนวนชาติที่ส่งผลได้มากชาติขึ้นเท่านั้น

การปลื้มเกิดได้จาก.... การทำบุญอย่างสุดกำลัง ตัดใจจากความตระหนี่ ที่ตัดได้ยากหรือนึกถึงความดีที่ทำได้ยาก เช่นนั่งสมาธิทุกวันไม่ขาดแม้วันเดียว หรือปีติที่เกิดจากสมาธิ ทำบุญแล้วปลื้มยังเป็นต้นบุญต้นแบบให้กับคนรอบข้าง เราจะพูดให้เขาฟังอย่างองอาจ ซึ่งจะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ได้ฟัง เพราะถ้อยคำที่มาจากการกระทำที่แท้จริง จะมีพลังไม่มีที่สิ้นสุด ใครก็ตามถ้าได้ฟังจะเกิด แรงบันดาลใจอยากทำบ้าง เราก็จะอยู่ในฐานะเป็นต้นบุญ และเราจะได้บุญเต็มที่ไม่ตกหล่น แสดงว่าความปลื้มสำคัญมาก ๆ เลย

เคยไหม? ที่ทำบุญแล้วไม่ปลื้ม อะไรคือสาเหตุ ที่ทำให้เราทำบุญ ทำความดีแล้วไม่ปลื้มบ้าง แล้วทำอย่างไรให้ปลื้ม    …พระอาจารย์ก็ไม่รู้เหมือนกันนะ ก็เลยไปโพสต์ในเฟสบุ๊ค ถามสมาชิกเพื่อนในเฟสบุ๊ค ว่าใครมีวิธีการดีๆบ้าง หรือใครเคยประสบปัญหานี้บ้างว่า... ทำบุญแล้วไม่ปลื้ม... รู้ไหมว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ...แล้วมีวิธีการแก้อย่างไรไปโพสต์มาเมื่อวานนี้เอง แล้วมีผู้ที่เข้าคอมเมนต์หลายคนเลย วันนี้ก็จะมาแบ่งปันให้กับพวกเราทุกคนได้ฟังว่า แต่ละคนมีประสบการณ์อย่างไรบ้าง มาดูคนแรก

โยมท่านหนึ่งบอกว่า ปลื้มเวลาที่มีความตั้งใจอย่างมากกับบุญนั้นๆ ตั้งใจและเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความสำคัญของบุญนั้นๆ ตั้งแต่ความคิดที่จะทำ ตอนเตรียมตัว เตรียมงาน หรือเตรียมปัจจัย ตอนรอคอยเวลาที่จะทำไปจนถึงตอนทำให้สำเร็จ ไม่ว่าบุญนั้นจะใช้ปัจจัยหรือใช้แรงกายก็ตาม ถ้าคิดแบบนี้ก็จะมีความปลื้มจนขนลุกเลยคะ

โยมท่านที่สอง บอกความไม่ปลื้มสามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง 3 ระยะ

1.ไม่ปลื้มระยะก่อนทำคือ เขาบอกว่าเขาเคยไม่ปลื้มก่อนทำเพราะรู้สึกว่าแอนตี้หรือปฏิเสธความไว้ใจสำหรับการมาบอกบุญหรือการทำหน้าที่ของบุคคลที่มาชวน คือเราไม่ศรัทธาคนที่มาชวน แต่เราก็ทำ แต่ไม่ปลื้ม

2.ไม่ปลื้มขณะทำ จะอยู่ในส่วนของรับบุญ ต้องทำงานร่วมกันเกิดการล้ำเส้น กระทบกระทั่งกันด้วยกาย วาจา ใจ แต่ก่อนทำ ก่อนรับบุญจะปลื้มดีใจที่ได้ทำ พอทำมาแล้วหลังทำก็ยังปลื้มอยู่ แต่ตอนทำอาจจะไม่ได้ปลื้มมาก เพราะว่าเกิดการกระทบกระทั่ง

3.ไม่ปลื้มหลังทำ คือทำไปแล้วเกิดความคาดหวังในทุกด้านและคิดเองเออเอง น้อยใจในตัวบุคคลหรือผลที่ไม่ได้อย่างใจ

 ต่อมาโยมท่านที่สาม  บอกว่า ทำบุญที่เราได้ตั้งใจทำทั้ง ก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ เช่นช่วงปีใหม่ชวนคนมาวัดหลายๆกลุ่ม ช่วยดูแลก่อนเขามาอยู่ในวัด ซึ่งเหนื่อย ...นอนน้อย วิ่งไปวิ่งมา ข้าวปลาไม่ได้กิน แต่ได้เห็นคนที่มามีความสุข กินอิ่ม ปลื้มใจที่เขามาแล้วประทับใจ แค่นี้เราก็ปลื้มจนน้ำตาคลอแล้วเจ้าค่ะ

ต่อมาโยมท่านที่สี่ บอกว่า แยกมาเป็น ทาน ศีล ภาวนา มาดูเรื่องการทำทานบอกว่า ทำทานแล้วไม่ปลื้ม เพราะ คาดหวังผลตอบแทนมากเกินไปและไม่ได้ดั่งใจ ไม่ได้ดังหวัง นานๆสักครั้ง ก่อนทำก็คิดแล้วคิดอีก ทำแบบเจียดปัจจัยทำ ไม่ได้ทำเต็มที่ และช่วงนั้นความตระหนี่ยังครอบงำใจมาก แก้โดยการทำบ่อยๆ ทำเต็มที่ ปลื้มไม่ปลื้มก็ทำ ไม่ได้ผลก็ช่าง  อารมณ์จะค่อยๆเปลี่ยนไป อนุโมทนาบุญบ่อยๆ   เดี๋ยวก็ชิน   แล้วก็จะปลื้มเอง

ศีล ต้องลงมือทำทันที เพราะใครทำให้ไม่ได้จริงๆ โดยดูผลเสียจากการไม่มีศีลว่านำปัญหามาให้เราแค่ไหน โดยเริ่มจากข้อง่าย ๆ ไปหาข้อยาก ๆ เวลาเจออุปสรรคเช่น เพื่อนล้อเลียน ไม่คบก็อย่าหวั่นไหว เพราะศีลกำลังดึงดูดเพื่อนที่ดี เพื่อนที่มีศีลมาหา อดทนไป พอทำได้กายจะเบา ใจจะเบา นั่งธรรมะก็ดีขึ้น ปัญหาชีวิตก็น้อย คนรอบข้างก็ดีขึ้นคุ้มต่อการลงทุน

คือตอนแรกอาจจะไม่ได้รู้สึกปลื้มมาก เหมือนคนมาวัด เรามีเพื่อนที่ไม่ได้มาวัดหรือว่ามีศีลไม่เสมอกัน พอเห็นเรารักษาศีลใส่ชุดขาว บางทีก็มีคนล้อว่าเป็นแม่ชีบ้าง แม่ชีวันนี้ไม่ไปวัดเหรอ พระอาจารย์ก็เคยเห็นน้อง ๆ อาสาสมัครที่มาช่วยรับบุญ เขาก็โพสต์เฟสบุ๊คเวลาที่เขามาทำกิจกรรมความดี ก็จะมีเพื่อนๆเขามาแซว เป็นอย่างไรบ้างแม่ชี ก็มีบ้างมากระทบกระทั่ง เพราะฉะนั้นเราก็ต้องใช้ความอดทน ตอนแรกก็อาจจะไม่ค่อยปลื้มมาก แต่ทำไปแล้วเดี๋ยวก็จะดีเอง

นั่งสมาธิ นึกถึงว่า ใครๆในโลกสรรเสริญสมาธิว่าดีก็นั่งเลย ทรมานแค่ไหนก็อดทน เพราะมันไม่มีค่าใช้จ่าย แม้จะทรมานในการนั่ง แต่หลังจากนั้นก็เริ่มเห็นผลคือ ใจเบา อุปสรรคในชีวิตก็น้อยลง ศัตรูทำอะไรเราไม่ได้ แก้ปัญหาต่างๆได้ดีกว่า แม้จะรักการนั่งแต่ติดฟุ้งและนั่งเครียดกว่า 10 ปี พอนั่งสบายได้ ตอนนี้ติดขี้เกียจนั่งเพราะเหนื่อย กำลังแก้ไขอยู่ สมาธิมีอุปสรรคเยอะแต่คุ้มค่าต่อการลงทุนมากๆ

ท่านต่อมา บอกว่าที่ทำแล้วปลื้มคือเห็นความสำคัญของบุญนั้นๆ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า จะปลื้มมากๆ สำเร็จง่ายๆ แต่ไม่ปลื้มก็คือ ถูกกำหนดตัวเลขว่าต้องทำเท่านั้น เท่านี้ ถ้ายังไม่ปลื้มมากก็ทำตามกำลัง ยังไม่เต็มกำลังค่ะ ความปลื้มจะเกิดขึ้นเองจะบังคับให้ปลื้มไม่ได้ ทำ 1 บาท แต่ก็ปลื้มเป็นล้าน ความอัศจรรย์ก็เกิดขึ้นได้เหมือนกัน

มาดูคนสุดท้าย บอกว่าทำบุญทั้ง ทาน ศีล ภาวนา หรือทำงานเพื่อหวังผล แล้วเราผิดหวังคือ ไม่ได้ดั่งที่คิดหรือตั้งใจไว้ก็จะโทษผู้อื่น สิ่งอื่นโทษบุญไม่ช่วย วิธีแก้ง่ายสุด แต่ทำยากสุดคือ ไม่คาดหวัง ทำด้วยใจบริสุทธิ์ ด้วยใจเมตตา ด้วยความปรารถนาดี ฯลฯ สรุป ทำดีที่สุดของเราแล้วผลที่เกิด หรือได้รับอะไร จะดีหรือไม่ดีแค่ไหน ให้คิดปลื้มว่า เราได้ทำดีแล้ว ส่วนเรื่องอื่นก็เป็นบุญของเขา เรื่องของเราคือเราได้บุญแล้ว แล้วเรานั่นแหละที่จะมีความสุขจนทำให้เขาสงสัย

สรุปสาเหตุ ที่ทำให้เราทำบุญ ทำความดี แล้วไม่ปลื้ม  

1.มีความคาดหวังกับผลลัพธ์มากเกินไป

2.ทำน้อยกว่าศรัทธาที่มี   - มีความคาดหวังกับผลลัพธ์มากเกินไป  จริง ๆ ความคาดหวังไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่อย่างที่บอกว่า ถ้าเราหวังผิดเราก็ผิดหวัง  เพราะฉะนั้นถ้าเราจะคาดหวังเราต้องดูให้ดีว่าความคาดหวังของเรามันอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเป็นความคาดหวังที่มันมากเกินไปมันก็จะทำให้เราผิดหวังได้ เคยได้ยินคำว่าทำบุญหวังผลไหม แล้วก็จะมีคนบอกว่าเราเป็นพวกทำบุญหวังผล ไม่ได้บุญหรอก จริงๆได้ไหม ...แล้วผิดไหมทำบุญหวังผล

ต้องดูก่อนว่า คำว่าทำบุญหวังผล หวังผลแบบไหน หวังผลด้านไหน ถ้าหวังผลด้านที่ไม่ดีมันก็จะกลายเป็นเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ มันอาจก็ทำให้เราได้บุญน้อยลง  แต่ถ้าเราหวังในสิ่งที่ดี และประกอบด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์มันก็เป็นบุญเป็นความดีไม่ใช่เรื่องผิดอะไร

ถ้าเรามองกว้างๆไม่ได้มองถึงเรื่องของบุญ เราทำอะไรเราก็หวังผล เราตั้งใจเรียนหนังสือ เราหวังว่าเราจะได้สอบผ่านก็เรียกว่าหวังผล แล้วผิดไหม ก็ไม่ผิด ก็มันเป็นเป้าหมายที่ตั้งใจจะไปให้ถึง ถ้าเราไม่มีเป้าหมายเลยแล้วเราก็เรียนไปวัน ๆ ให้รู้ว่าวันนี้ฉันจะตั้งใจเรียน ฉันจะเป็นคนดี เพื่อฉันจะได้เรียนหนังสือเก่ง จะได้มีหน้าที่การงานที่ดี อย่างนี้ก็เป็นผลที่ดี

เหมือนเราไปช่วยคนที่กำลังเดือดร้อนอยู่เราก็หวังผลไหม หวังให้เขาพ้นจากความทุกข์ เขามีความทุกข์อยู่แล้ว เราไปช่วยเขาให้พ้นจากทุกข์ เราก็คาดหวังว่าให้เขาพ้นจากทุกข์ แต่เราไม่ได้คาดหวังว่าวันหนึ่งเขาจะต้องมาตอบแทนเราคืน  เพราะฉะนั้นการพูดว่าที่ทำบุญเพื่อหวังผลมันสั้นไป ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าถูกหรือผิด ต้องดูด้วยว่าผลที่เราหวังเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์หรือไม่ มันเป็นไปได้ไหม

ถ้าเกิดจากเจตนาไม่บริสุทธิ์ก็แสดงว่าการทำบุญหวังผลนั้นไม่ดี อานิสงส์ก็น้อย ถามว่าได้บุญไหม...( ได้ )... แต่จะได้บุญแบบที่ไม่บริสุทธิ์ ได้ไม่เต็มที่ เหมือนที่เราไปทำทาน ทำเพื่อชื่อเสียง ทำเพื่อหน้าตาทางสังคม อย่างนี้เจตนาก็เริ่มไม่บริสุทธิ์ ก็จะได้บุญนิดหน่อย

- ทำน้อยกว่าศรัทธาที่มี  ความศรัทธาความตั้งมั่นมีมาก แต่อาจจะเป็นเพราะว่าความขี้เกียจ ความตระหนี่ ข้ออ้างข้อแม้เงื่อนไข ก็เลยทำให้เราทำไม่เต็มที่เหมือนที่เราศรัทธาจริงๆ ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่เราเองจะรู้ตัวเราเอง  เพราะฉะนั้นถ้าหากเราทำบุญแล้วไม่ปลื้มเราก็สามารถใช้ตัวนี้เป็นตัวตรวจสอบได้ว่าจริง ๆ เราตั้งใจทำจริง ๆ แค่ไหน แต่ที่เราไม่ปลื้มเพราะว่าเราทำน้อยกว่าที่เราตั้งใจไว้หรือเปล่า  ตัวอย่างเช่น วันนี้ตั้งใจจะรักษาศีล 8  แต่หิวเหลือเกินเลย รู้สึกหิวมากเลย ทำอย่างไรดี เราอาราธนาศีล 5 ก็แล้วกัน เราก็ไปหาอะไรกิน

  แต่เมื่อตอนเช้ามีความปรารถนาว่าวันนี้วันพระมีศรัทธาตั้งมั่น วันนี้วันพระใหญ่จะรักษาศีล 8 จะตั้งใจรักษาศีลให้ดี แต่ตอนเย็นกิเลส ความหิวเข้าครอบงำไม่เป็นไร ขอไปกินอะไรก่อนดีกว่าเราก็รักษาศีล 5 ใหม่ อย่างนี้เรียกว่าทำน้อยกว่าศรัทธาที่มี มันก็อาจจะทำให้เราอาจจะไม่ปลื้มกับศีลที่เรารักษาวันนี้ก็ได้ เป็นต้น

หรือนั่งสมาธิ มีความตั้งใจตั้งมั่นว่าวันนี้จะนั่ง 1 ชั่วโมง แต่พอถึงเวลาวันนี้ฟังธรรมมานั่งก็นานแล้ว เดินทางกลับบ้านก็ไกล 1 ชั่วโมงก็นานไปขอแค่ 10 นาที  ยกยอดไปวันต่อไป อย่างนี้ก็เรียกว่าทำน้อยกว่าศรัทธาที่มี ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องทานอย่างเดียว ใช้ได้กับทุกเรื่อง  หรือเราทำงานพระศาสนามีศรัทธาตั้งใจมาก จะทำไม่ทำแต่บางทีก็ถูกความขี้เกียจ เบื่อหน่ายเซ็งกลุ้ม ความไม่พอใจ กิเลสในตัวเรานิสัยเดิม ๆ เราก็มาตัดรอน ทำให้เราทำไม่เต็มที่อย่างที่เราตั้งใจ อันนี้ก็ถือว่าเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง

สาเหตุต่อ อันนี้เกิดขึ้นบ่อย เขาบอกว่า  ....- เกิดจากการทำในสิ่งที่ซ้ำ ๆ กันเป็นปกติจนชิน จึงไม่เกิดความรู้สึกพิเศษใด ๆ ไม่ใช่ไม่ปลื้มนะ แต่มันรู้สึกไม่ปลื้มเหมือนที่เคยปลื้ม มันกลายเป็นความรู้สึกเฉย ๆ เพราะเราทำจนชิน

อุปมาเหมือนราชา มหากษัตริย์ หรือคหบดี มหาเศรษฐี ที่ได้รับการบำรุงบำเรอด้วยอาหารที่จัดแต่งประณีต มีรสเลิศทุกมื้อจนเป็นเรื่องธรรมดา อาภรณ์เครื่องนุ่งห่มมีเนื้อละเอียด แบบทันสมัย ใช้ตราสินค้าที่หรูหราเป็นธรรมดา ที่อยู่อาศัยก็เหมือนคฤหาสน์ ปราสาท ราชวัง โรงแรมระดับ 5 ดาวเป็นปกติธรรมดา ได้ชมการแสดงฟังดนตรีชั้นเลิศเป็นประจำ ใช้ยานพาหนะ ยนตรกรรมชั้นเลิศราคาแพง ก็จึงรู้สึกชินชาไม่มีความสุขกับคฤหาสน์หลังใหญ่ ไม่มีความสุขกับอาหารชั้นดี เสื้อผ้าชั้นเลิศ ไม่มีความสุขเพราะอยู่จนชิน คุ้นเคย

อะไรที่เป็นครั้งแรกย่อมพิเศษเสมอ ครั้งต่อมาก็มักคุ้นเคยไม่รู้สึกพิเศษเท่ากับครั้งแรก เหมือนใครมางานวันมาฆบูชาครั้งแรกของวัดพระธรรมกาย จะรู้สึกตื่นตาตื่นใจ ตื่นเต้นปลื้มมากเป็นพิเศษเหมือนตอนที่พระอาจารย์มาเป็นครั้งแรก ปี พ.ศ. 2548 มาเป็นอาสาสมัคร เป็นความรู้สึกที่ไม่เคยเจอมาก่อน วัดใหญ่มาก คนเยอะมาก และเราก็รู้สึกว่าไม่เคยเจอคนแบบนี้มาก่อน คนที่เดินไปเดินมาก็ยกมือสาธุ ๆ เอาบุญมาฝากสาธุ ๆ ยิ้มแย้มแจ่มใส เราไม่เคยอยู่ในบรรยากาศอย่างนี้มาก่อนเรารู้สึกแปลกใหม่มาก ได้ไปร่วมกิจกรรมรู้สึกปลื้มมาก พอเขาเห็นเราเริ่มปลื้มเขาก็ชวนเราบวช แต่ตอนนั้นไม่ได้บวช มาบวชปี พ.ศ. 2549 ผ่านไป 1 ปีความปลื้มยังหล่อเลี้ยงอยู่จึงทำให้ได้มาบวช นี่คือความรู้สึกที่เราคุ้นจนรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา

แต่ก็มีบางสิ่งที่ทำซ้ำ ๆ มายาวนานแต่ก็ไม่รู้สึกเบื่อ ไม่ได้รู้สึกคุ้นชิน แต่รู้สึกปลื้มตลอด ยกตัวอย่างเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทำสิ่งเดิม ๆ สร้างบารมี 10 ทัศเรื่องเดิม พระองค์ทำแล้วทำอีก ยาวนาน 20 อสงขัย แสนมหากัป ไม่ได้ทำให้ท่านเบื่อเลย แสดงว่าจะต้องมีอะไรมากกว่านั้น ที่ทำให้บางอย่างที่ทำแล้วก็ไม่ได้รู้สึกเบื่อ ตรงข้ามกลับอยากทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

- ไม่เข้าใจ หรือไม่เห็น คุณค่า ความสำคัญของบุญ หรือสิ่งที่ทำ อย่างลึกซึ้ง บางทีก็เข้าใจก็รู้ว่าสำคัญ แต่มันไม่ลึกซึ้ง ความลึกซึ้ง ความลุ่มลึกของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เหมือนพิธีกร มาทำหน้าที่ มาทำเพราะอยากทำ เห็นความสำคัญ อย่างลึกซึ้งหรือว่ามาทำเพราะว่าเขาสั่งให้ทำ ก็จะไม่เหมือนกัน แต่ว่าต้องมาทำ แต่ความรู้สึกปลื้มในการมาทำหน้าที่ก็อาจจะไม่เหมือนกัน พอเราทำสิ่งนี้ไม่ได้มันจะเกิดข้อนี้ต่อมาก็คือ

- ทำเพราะเป็นหน้าที่ ทำจนเป็นหน้าที่ของเรา มาทำหน้าที่พิธีกร หน้าที่ช่างภาพ มาเพราะว่าเป็นหน้าที่ของเรา เราต้องมา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ เลย  แต่จะให้ดีกว่านั้นต้องเพิ่มเติม ก็คือ ต้องให้เห็นถึงคุณค่า และความสำคัญของสิ่งที่เราทำอย่างลึกซึ้ง ถ้าอย่างนี้ถือว่าใช้ได้ จึงมาให้เห็น คำ 2 คำนี้ คือคำว่า

คุณค่า หรือ หน้าที่ ถามตัวเองนะมาฟังธรรมในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา มาเพราะเห็นคุณค่า หรือมาเพราะหน้าที่ มาเพราะเห็นคุณค่าได้บุญ มาเพราะหน้าที่ก็ได้บุญ แต่ไม่เท่ากัน แต่ถ้าได้ทั้งคุณค่าและหน้าที่เป็นอย่างไรก็จะบริบูรณ์ เขาบอกว่าถ้าเราทำเพราะเห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ เราก็จะได้สิ่งที่มีคุณค่ากลับมา   เมื่อไหร่ที่เราทำด้วยคุณค่า เราจะไม่มีเส้นแบ่งว่าแค่ไหนพอ

 เมื่อทำตามหน้าที่ เขาจะไม่ทำนอกเหนือหน้าที่ เพราะหน้าที่จะมีขอบเขตที่ชัดเจน แต่คุณค่ามักจะไม่มีขอบเขต ยิ่งทำมากยิ่งมีคุณค่ามาก  อันนี้ใช้เป็นตัวชี้วัดเลย ไม่ทำมากกว่านี้ ก็คือ ก็หน้าที่ฉันมีแค่นี้ จะให้ฉันทำมากกว่านี้ได้ไง ไม่ทำหรอก อันนี้แสดงว่าเริ่มทำตามหน้าที่  แต่ถ้าเราทำเพราะเห็นคุณค่า จะไม่มีขอบเขตเลยว่าแค่ไหนคือยิ่งปลื้มก็ยิ่งทำ ยิ่งเห็นคุณค่าก็ยิ่งอยากทำ เขาไม่ให้ทำก็ขอทำหน่อยเถอะ อยากทำ อย่างนี้ มันจะไม่มีเส้นแบ่งเลย เราจะมีความรู้สึกว่าอยากทำยิ่งๆขึ้นไป   อย่างเช่นโยมที่มาทำหน้าที่พิธีกร เขาบอกว่าอาทิตย์หนึ่งมา 2 ครั้งนะ ผมรู้สึกว่าปลื้มกับการทำหน้าที่นี้มากเลย ผมขอ 4 ครั้งได้ไหม อย่างนี้แสดงว่าเริ่มทำเพราะความปลื้มและเห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ

เพราะฉะนั้นเราก็มาย้อนดูว่า ที่เรามาสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรกันทุกวัน ทำเพราะเห็นคุณค่าหรือทำเพราะหน้าที่  ความรู้สึกจะไม่เหมือนกัน ถ้าทำเพราะหน้าที่ก็ ได้รับเป้ามาแล้ว วันละ 3 จบไปสวดหน่อยก็แล้วกันเดี๋ยวเขาจะว่าเอา ก็ได้บุญไม่ใช่จะไม่ได้ แต่จะไม่ได้เท่ากับการทำเพราะเห็นคุณค่า พอทำแล้วเห็นคุณค่าไม่พอหรอก 3 จบน้อยไป สวดไปเลย 9 จบ อันนี้ทำเพระเห็นคุณค่า

ตักบาตรทำเพราะเห็นค่าหรือทำเพราะหน้าที่ ต้องถามตัวเองนะ แรกๆอาจจะทำเพราะเห็นคุณค่านะ แต่ถ้าเราไม่หมั่นย้ำเตือนบ่อยๆ มันก็รู้ว่าต้องทำ ทำจนชินแล้ว แต่ความเห็นคุณค่าอาจจะค่อยๆน้อยลงก็ได้นะ ค่อยกลายเป็นหน้าที่ไปแล้ว เพราะฉะนั้นต้องเช็คความปลื้มกันบ่อยๆว่าทำทุกครั้ง ปลื้มทุกครั้งหรือไม่

ถ้าความปลื้มนั้นยังคงอยู่ อยากทำให้ยิ่งๆขึ้นไป แสดงว่าเรายังเห็นคุณค่าอยู่ เห็นประโยชน์จากสิ่งที่เราตั้งใจอยากจะทำ   เหมือนเด็กน้อยที่มาสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทำเพราะเห็นคุณค่า หรือหน้าที่ ไม่รู้เหมือนกัน หรือว่าพ่อแม่มาไม่รู้จะอยู่บ้านทำไม ก็ต้องมาด้วย

ทีนี้พอเราทำเพราะเห็นคุณค่า ใครสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรได้บ้าง ใครสวดไม่ต้องดู ไม่ต้องฟังแต่สวดเองได้บ้างมันก็ได้อีกระดับหนึ่ง แล้วใครสวดไปแล้วสามารถรู้บ้างว่าที่เราสวดไปแปลว่าอะไร ความลุ่มลึกจะต่างกัน บางคนมาสวดเพราะว่าเป็นหน้าที่ มาสวดเพราะเห็นคุณค่าก็สวดหลายจบ แต่บางคนสวดไปก็มีความตั้งใจว่าฉันจะต้องสวดให้ได้ จะต้องจำให้ได้ แม้ไม่มีเสียงเปิด หรือไม่มีใครมาสวด หรือไม่ดูหนังสือฉันก็สวดได้ มันก็พัฒนาความปลื้มไปได้อีกระดับหนึ่ง

พอทำไปแล้วเริ่มไม่ปลื้ม ก็ต้องข้าม Up Level ไปเริ่มดื้อยาแล้วเริ่มไม่ปลื้มทำอย่างไร ก็ไปให้เราลึกซึ้งกว่าเดิมไปดูว่าที่เราสวดแปลว่าอะไร มีความหมายอย่างไร อย่างนี้จะเพิ่มความรู้สึกว่าอยากทำเรื่อยๆ แต่ถ้าเราไม่ทำจะรู้สึกว่าจาก 9 เหลือ 5 เหลือ 7 เหลือ 3 เหลือ 2 เหลือ 1 แล้วก็เริ่ม 2 วัน 1 ครั้ง เริ่มถอยหลังไม่มีการพัฒนา ถ้าทำแบบพระพุทธเจ้าทำแล้วต้องพัฒนาและสั่งสม ต้องลุ่มลึกยิ่งขึ้นไป

หรือมาบูชาเจดีย์  บางคนมาบูชาเจดีย์คิดว่าความปลื้มเท่ากันไหม ความปลื้มไม่เท่ากัน เพราะแต่ละคนจะเห็นคุณค่าการมาบูชาเจดีย์ไม่เท่ากัน  …หรือเวียนประทักษิณรอบพระมหาธรรมกายเจดีย์ พระอาจารย์ก็ไปเดินบ่อย เมื่อวานก็ไปเดินมา เอาบุญมาฝากนะ นี่ก็คิดว่าเทศน์จบแล้วก็จะไปอีกวันนี้วันพระด้วยจะไปเวียนประทักษิณ กำลังคิดให้ตัวเองทำแล้วต้องให้ปลื้ม ยิ่งทำต้องยิ่งปลื้ม

คราวนี้พอเริ่มเดินๆไปแล้วก็หากุศโลบายว่าทำอย่างไรให้ปลื้ม แล้วนึกถึงบุญได้ดีกว่าเดิม เมื่อวานพระอาจารย์ก็เลยลองเดินและก็นับไปด้วย นับว่าการเดินรอบพระมหาธรรมกายเจดีย์ 1 รอบกี่ก้าว ลองดูนะแต่พระอาจารย์ไม่ได้นับรอบเจดีย์นะ เพราะต้องสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรไปด้วย นับแค่ 1 ส่วน 4 แล้วก็คูณ 4 ก็เท่ากับ 1 รอบก็จะเฉลี่ยประมาณนั้นนับได้ 1,280 ก้าว ความปลื้มมันต่างกันนะ เดินตั้ง 1,000 กว่าก้าวเลย ความปลื้มไม่เหมือนเดิม

เมื่อวานพระอาจารย์ไปถามโยมกำลังนั่งอยู่บอกว่าจะไปเวียนประทักษิณ ก็เลยถามโยมว่า ทำไมโยมมาเวียนประทักษิณทุกวัน เขาบอกว่าเขาเวียนประทักษิณทีไรใจเขาทะลุไปถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่อยู่ด้านใน ที่เป็นองค์สีเงิน ใครมาทันสร้างบ้าง พระอาจารย์ก็มาทันตอนนั้นเป็นนักศึกษา มาวัดครั้งแรกได้มีโอกาสร่วมบุญ เขาบอกว่าเขามองทะลุไปถึงองค์พระภายใน

แล้วก็มีอีกคนบอกว่า เขาปลื้มมากตอนที่ทำบุญแสนปลื้ม ตอนที่จะปิดเจดีย์ เขารู้สึกเขามีส่วนร่วมทุกองค์ ทุกบุญเลย เขามาเดินเขาก็นึกถึงพระพุทธรูปที่อยู่บนเจดีย์ ทั้งแสนองค์ที่เขามีส่วนร่วมในบุญตลอดเลย เขาก็เลยปลื้ม

พอเราได้ฟังแต่ละคนเล่า บางทีเราก็ไม่ได้คิดในมุมมองนั้นๆ เพราะฉะนั้นเราลองดูว่าแต่ละคนมีกุศโลบายในการสั่งสมบุญอย่างไร มันจะเพิ่มคุณค่าและทับทวีบุญในตัวเราและความปลื้ม

สมมติว่าเริ่มทำบุญแล้วไม่ปลื้มเราถามคนอื่นเลย ที่เขาทำเรื่องนี้บ่อยๆ ไปถามว่าทำไมเขามีกำลังใจทำเรื่องนี้บ่อยๆ แสดงว่าเขาต้องมีเทคนิคที่ดี เราก็เรียนรู้จากเขานี่แหละ แล้วเราก็มาปรับใช้เป็นของเราให้ได้ มันก็จะทำให้เราทำแล้ว เรามีความปลื้ม

หรือการมาคัดหินเกล็ด ใครมาคัดหินเกล็ดแล้วบ้าง มาคัดบางคนก็นับเป็นวันว่าไปคัดมาแล้วกี่ครั้ง มีใครเคยนับบ้างว่าคัดไปแล้วกี่เม็ด เคยไหม มันก็เป็นกุศโลบายว่านับเม็ดหนึ่งๆว่าชาติหนึ่งที่เราเกิดมาสร้างบารมีทุกภพทุกชาติ ทำไปแล้วยิ่งปลื้ม เราก็ต้องหาวิธี มันก็ต้องถามแล้วว่าที่มาคัดทำเพราะเห็นคุณค่าหรือเพราะเป็นหน้าหน้าที่  ถ้าไม่ไปเดี๋ยวตกเทรน เขาไปกันหมดแล้วเรายังไม่ได้ไป ไม่รู้จะคุยกับเขาอย่างไรต้องไปซะหน่อย อย่างนี้ก็ได้ระดับหน้าที่นะ รู้สึกมีหน้าที่ต้องไปทำ แต่ถ้าทำเพราะความปลื้ม เพราะเห็นคุณค่าเดี๋ยวจะทำอีกแบบหนึ่งจะเกิดวิธีการต่าง ๆ มากมาย แล้วเราจะเป็นต้นบุญต้นแบบให้กับคนอื่นนะ

หรือการรักษาศีล เพราะหน้าที่หรือเพราะเห็นคุณค่า ต่างกันไหม ต่างกัน อย่างน้องอุบาสกผมมาอยู่วัดเขาบังคับให้รักษาศีล 8 ก็ถือว่าหน้าที่ แต่ว่าเห็นคุณค่าไหม ก็ต้องถามน้องเองว่าเราเห็นคุณค่าในการรักษาศีล 8 มากน้อยแค่ไหน

การจะเห็นคุณค่าจะต้องมองให้เห็นตลอดสาย เช่น ถ้าเราผิดศีลจะเกิดอะไรขึ้น สมมติว่าเราผิดศีล ข้อ 1 การเบียดเบียนผู้อื่น เราก็ต้องมองให้เห็นว่าการที่เรารักษาศีลได้ วันนี้เราไม่เบียดเบียนใคร วันนี้คนที่มาวัดทุกคนรู้สึกปลอดภัยในชีวิต เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร

แต่ถ้าเราจะผิดศีลไปตบหัวใครเราก็ทำได้ แต่จะเกิดโทษและผลเสียต่อคนที่มาวัด เราได้สร้างความปลอดภัยในชีวิตให้กับคนในวัดเป็นพัน เป็นหมื่นคน วันนี้เราได้สร้างความปลอดภัยในทรัพย์สินกับทุกคนในวัด  ไปบูชาเจดีย์ พระอาจารย์เห็นกระเป๋าวางเต็มเลย ถ้าพระอาจารย์เดินไปหยิบกระเป๋าหนึ่ง ไม่มีใครรู้หรอก แต่ทุกคนที่มาวางเพราะเขารู้สึกว่าไม่น่าหายหรอกเพราะทุกคนมาสั่งสมบุญและความดี เมื่อวานพระอาจารย์ก็ลองวางดูบ้างขี้เกียจถือกลับมาก็ยังอยู่  เกิดความรู้สึกว่าอยู่วัดเราปลอดภัย คนยืนกันเป็นร้อย เราวางของก็ไม่หาย เราได้สร้างความปลอดภัยให้กับเพื่อนมนุษย์

วันนี้เราได้พูดดีเราไม่ได้โกหกใคร เราได้สร้างความจริงและความเชื่อใจให้กับเพื่อนมนุษย์ พอเรามองแบบนี้เราก็จะมีความสุข วันนี้เราไม่ได้ไปเบียดเบียนใคร เราไม่ได้ไปลักทรัพย์ใครเราจะเกิดความปลื้มในสิ่งที่เราทำ เพราะเราเริ่มพิจารณาและเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ

การนั่งสมาธิ นั่งเพราะเห็นคุณค่าหรือเพราะเป็นหน้าที่และความปลื้มจะต่างกัน ….การทำหน้าเป็นกัลยาณมิตรชักชวนคนทำความดีทำเพราะเห็นคุณค่าหรือทำเพราะหน้าที่ บุญได้ไม่เท่ากันนะ  …การมาฟังธรรมในวันนี้ มาเพราะเห็นคุณค่าหรือมาเพราะหน้าที่ ใครมาฟังธรรมในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาต่อเนื่องไม่เคยขาดบ้าง บุญจะทับทวีเลย

พระอาจารย์มาแสดงธรรม คิดว่ามาเพราะเห็นคุณค่าหรือเพราะหน้าที่ ปลื้มทุกครั้งที่ได้มาแสดงธรรม อยากให้ธรรมทาน จริงๆทุกครั้งที่พระอาจารย์มาแสดงธรรม สิ่งที่รู้สึกได้มากที่สุดคือได้กับตัวเอง เพราะทุกครั้งต้องค้นคว้าหาความรู้ คนที่ได้ความมากที่สุดก็คือผู้เทศน์ ถ้าไม่มาเทศน์ก็ไม่รู้ว่าจะไปพูดให้ใครฟัง

อันนี้สำคัญมากว่าทำไมเราทำบุญแล้วไม่ปลื้ม เพราะว่าเรา..  – ยังไม่เข้าถึงสภาวธรรมอันประณีต  ยังไม่เห็นดวงบุญ ทำบุญเรายังไม่เคยเห็นดวงบุญที่ตนเองกระทำทั้งกาย วาจา ใจ ในช่วง ก่อนทำ ขณะทำ หลังจากทำแล้ว พอไม่เห็นดวงบุญเพราะยังไม่มีธรรมจักษุ มันก็เลยไม่ปลื้ม ลองคิดดูภาพถ้าเรานั่งสมาธิแล้วสามารถเข้าถึงธรรม พอเราทำบุญเราก็เห็นดวงบุญสว่าง เห็นวิมานของเราสว่าง บริวารของเรารัศมีสว่างไสว คิดว่าจะปลื้มไหม ปลื้มแน่นอน แต่เรายังไปไม่ถึงตอนนั้น

เพราะฉะนั้นการจะปฏิบัติธรรม การทำใจของเราให้ละเอียดจะเป็นตัวบ่งบอกว่าความปลื้มของเราก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ถ้าเราทำบุญแล้วไม่ปลื้ม สาเหตุหนึ่งให้เราพิจารณาตอนนี้ใจเราเริ่มหยาบ ใจเราไม่ละเอียด

ถ้าเราปฏิบัติธรรมมากๆ เข้าถึงความละเอียดภายในใจมากๆ เดี๋ยวเราจะรู้สึกเปลี่ยนไป จะค่อยๆปลื้มในสิ่งที่เราทำ พอเราเริ่มเข้าถึงความสุขภายในและเห็นถึงผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เราทำ อันนี้เป็นสาเหตุที่สำคัญมากๆ เราต้องปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงธรรมะภายในให้ได้แล้วเราจะปลื้มตลอด

เหมือนโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา จุดเริ่มต้นพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านมาแสดงธรรม ท่านจะมาเล่าอานิสงส์ให้เราฟังมาบอกเราว่าทำแบบนี้แล้วจะเป็นยังไง มีผลอย่างไร แล้วเอา Case Study มาเล่าให้เราฟัง เราก็เห็นผล แม้เราไม่สามารถปฏิบัติธรรมให้เห็นผลได้ด้วยตัวเอง แต่เรารู้สึกว่า เราปลื้ม และก็มีการจำลองนรกมาให้เราดูว่าถ้าทำชั่วจะเป็นอย่างไร จำลองสวรรค์มาให้เราดูสวรรค์เป็นอย่างไร ก็ทำให้เราปลื้มในสิ่งที่เราทำอย่างเต็มที่

พระอาจารย์ก็ไปดูอีกว่า ถ้าในหลักธรรม การทำบุญให้ปลื้มจะเอาหลักธรรมอะไรมาจับ  ทำอย่างไรให้ปลื้มในบุญ พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑโฒ ท่านเคยเขียนไว้ว่า  …ถ้าเราทำบุญเดิม ๆ ซ้ำกันทุกวันจนรู้สึกไม่ปลื้ม เท่ากับทำครั้งแรก จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร?  …วิธีการแก้คือให้ใช้หลักอิทธิบาท 4  คือ

1.ฉันทะ คือ เห็นประโยชน์ในสิ่งที่ทำ ไม่ได้ทำเพราะหน้าที่ ไม่ใช่ทำไปเรื่อย ๆถ้าอย่างนั้นความปีติมันจะหย่อนลง แต่ถ้าเราใส่ใจเช่นถวายทานวันนี้ก็จะทำให้พิเศษยิ่งขึ้นไป ประณีตขึ้นใส่ใจยิ่งขึ้นทุกครั้ง จะนำไปสู่

2.วิริยะ ทำแบบมีความใส่ใจเป็นพิเศษ

3.จิตตะ คือมีความตั้งใจทำ

4.วิมังสา คือเข้าใจทำ

โยมคิดว่าพระที่ท่านมาบวชท่านเคยรู้สึกไม่ปลื้มกับการบวชไหม แต่วันที่บวชจะรู้สึกปลื้มมาก แต่พออยู่ไปหลาย ๆ นาน ๆ ความปลื้มน้อยลง แต่สิ่งที่พระพุทธองค์ท่านให้ไว้ เป็นสิ่งที่คอยย้ำเตือนให้พระภิกษุต้องพิจารณาทุกวัน และพิจารณาบ่อย ๆ เพื่อย้ำเตือนให้เราเห็นถึงคุณค่าของการมาบวช  มีอยู่ 10 ข้อ

ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ 10 อย่าง ( อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร)

1.บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใด ๆ    ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ

2.บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ความเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย

3.บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า อาการกาย วาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงแค่นี้

4.บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ตัวของเราเองติเตียนตัวของเราเองโดยศีลได้หรือไม่

5.บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ผู้รู้ใคร่ควรแล้ว ติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่

6.บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น

7.บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว

8.บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่

9.บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรายินดีที่สงัดหรือไม่

10.บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขินในเวลาเพื่อนบรรพชิตถามในการภายหลัง

ถ้าเราพิจารณาอย่างนี้บ่อย ๆ เราก็จะรู้ว่าเรามาบวชทำไม ทำให้เราเกิดความปลื้มในการมาบวชได้ ของโยมเองก็สามารถปรับใช้ได้ จะเปลี่ยนใช้คำว่า กัลยาณมิตรควรพิจารณาเนืองๆว่า ก็จะมีอยู่คล้ายกัน เราก็สามารถนำมาพิจารณาตัวเราเองได้

เพราะฉะนั้นการที่จะทำบุญแล้วให้ได้ปลื้ม ๆ สำคัญก็คือเราจะต้องใช้สติปัญญาไตร่ตรองพิจารณาถึงโทษภัยให้ได้  ...โทษและภัยในวัฏฏะสงสาร เพื่อมองภาพรวมของวงจรชีวิตในสังสารวัฏ เรื่อยลงมาถึง โทษและภัยอันตราย ในความประมาทในชีวิต ในวัย ในความไม่มีโรค เป็นต้น  เหมือนเรามาสั่งสมบุญเรามองเห็นแล้วว่าเดี๋ยวเราก็ตายแล้ว เรามีชีวิตอีกไม่นานแล้ว เรามีเวลาอีกไม่มากแล้ว เราจะต้องทำความดีให้ยิ่งขึ้นไป เป็นการเตือนเรา และ

ใช้สติปัญญาของตน ไตร่ตรองพิจารณาถึง ความมีบุญวาสนาของตน  - ได้เกิดเป็นมนุษย์ ร่างกายไม่พิกลพิการ  - ได้เกิดในสมัยที่พระพุทธศาสนา ยังดำรงอยู่  - ตนเองก็เป็นสัมมาทิฏฐิบุคคล ไม่มีทิฏฐิวิบัติ  - มีศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยในการ บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา   พูดแบบชาวบ้านคือ เราเองก็ใฝ่ดี รักการทำความดี ใฝ่พัฒนาจิตใจให้ใส ให้สูง   บางทีเราไม่ได้นึกเพราะเราทำเป็นปกติแต่ถ้าเรานึกบ่อยๆจะเกิดความปลื้มว่าเราโชคดี บางทีเราไม่ได้นึก ความปลื้มมันก็ไม่เกิด

ไทยธรรมก็มี ผู้รับไทยธรรมก็มี เพื่อนนักสร้างบารมีเราก็มี มันก็ทำให้เราเกิดความปลื้ม มองหลายๆอย่าง มองถึงคนที่เขาไม่พร้อมไม่มีโอกาสเหมือนเรา คนที่เขาไม่สามารถมาทุ่มเทได้เหมือนเรา คนที่เขาไม่มีภาวะเหมือนเรา อาจจะอยู่ในเป็นเปรต สัตว์นรก อสูรกาย ไม่มีครูบาอาจารย์เหมือนเรา ไม่ได้เกิดมาพบหมู่คณะเหมือนเรา พอเราเริ่มมองเห็นถึงความโชคดีเราก็จะทำสิ่งต่างๆเห็นคุณค่ามากขึ้นกว่าเดิม

หรือ  การจัดเตรียมไทยธรรม  - วัตถุทาน อามิสทาน ให้สะอาด ประณีต   - ตาเห็นก็แจ่มใส ยังใจแช่มชื่นเบิกบาน  การจัดเตรียมไทยธรรมของเราก็ทำให้ดีขึ้น ประณีตขึ้น ละเอียดขึ้นจากที่เราเคยทำมา ปกติเราทำแค่นี้พอทำไปแล้วมันเริ่มชินชา ก็เพิ่มความประณีตเข้าไปให้มากกว่าเดิมเรื่อยๆ จะทำให้เราไม่หยุดนิ่งเกิดการพัฒนาไปเรื่อยๆ และสำคัญก็คือ 

 

เตรียมความพร้อมของร่างกายให้ดี   - ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ พร้อมจะสั่งสมบุญ เพราะกายที่แข็งแรงเป็นฐานทัพให้ใจ ไม่กังวล มุ่งสู่ความละเอียดภายในได้ปลอดโปร่ง  จะมาสั่งสมบุญเมื่อคืนนอนดึกมากเลย พอจะมาวัดง่วง เหงา หาว นอน อารมณ์ที่จะปลื้มก็น้อย แต่ก็ถือว่ายังดีที่แบกสังขารเอาชนะตัวเองมาวัดได้ ง่วง เหนื่อยแค่ไหนก็มา แต่ถ้าจะให้ดีต้องมีความพร้อมในด้านร่างกายด้วยจึงจะปลื้มมาก     - เสื้อผ้าอาภรณ์ ดูดี ที่สะอาดก็ทำให้มั่นใจในตัวเอง เหมาะสมกาละ เทศะเป็นการให้เกียรติในบุญสถาน กิจกรรมงานกุศล เป็นการทำให้ตนเองเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดี ดูแล้วสบายตา เห็นแล้วสบายใจ

ถ้าไม่ถูกที่ถูกทางความปลื้มก็น้อยลง เขาก็มาถามทำไมแต่งตัวแบบนี้มาวัด เราก็ถูกตำหนิ ความปลื้มก็น้อยลงได้ การเตรียมความร่างกายให้พร้อมก็สำคัญ มาแล้วรู้สึกว่าสดชื่น ก่อนมาฟังธรรมก็ทานข้าวให้อิ่ม รู้สึกฟังธรรมอิ่มกาย อิ่มใจ ถ้ามาฟังแล้วหิวก็รู้สึกว่าเมื่อไหร่จะจบซักทีจะได้ไปหาอะไรทาน มันก็ไม่เกิดความพร้อม

เตรียมดวงพักตร์ ให้ประดับด้วยรอยยิ้ม สีหน้าแช่มชื่น ต้อนรับคนรอบข้าง   …เตรียมดวงเนตร เป็นมิตรกับคนรอบข้าง  …เตรียมดวงหทัย ให้เกลี้ยง จากภาระเครื่องกังวลใจ สิ่งที่เป็นข้าศึกต่อการกุศล คือ เตรียมใจให้ใส เปิดใจให้พร้อมที่จะ รองรับสายธารแห่งบุญ และสายธารแห่งธรรม ดีที่สุดคือ เราต้องเห็นดวงบุญ เอาใจอยู่ในดวงบุญ และสุดท้ายทุกครั้งที่ทำบุญให้..

อธิษฐานจิต   อันนี้เคยใช้แล้วนะ ใครที่ทำบุญแล้วไม่ปลื้มให้ลองดู ให้เราอธิษฐานจิตทุกครั้งที่เราทำบุญ อาจจะอธิษฐานจิตหลังจากที่ทำก็ได้ หรืออธิษฐานจิตก่อนทำก็ได้ การอธิษฐานก็คือการตอกย้ำไปเลยว่าเราทำไปเพื่ออะไร มีคุณค่าอะไรกับสิ่งที่เราทำ เหมือนเรามาฟังธรรมแล้วถ้าไม่ได้อธิษฐานจิตมันไม่ได้ตอกย้ำ แต่ถ้าเราอธิษฐานจิต

ด้วยบุญที่วันนี้เป็นวันพระใหญ่ วันได้ตั้งใจมาฟังธรรมซึ่งไม่ค่อยได้มา แต่วันนี้มา ก็เลยอธิษฐานจิตว่าด้วยบุญที่ข้าพเจ้าได้มาฟังธรรมในวันนี้ ให้ข้าพเจ้ามีดวงปัญญาแตกฉาน สว่างไสวให้นำธรรมะไปสอนตัวเองได้ สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ให้มีแต่เพื่อนดี ๆ มีกัลยาณมิตรที่ดี ได้สร้างบารมียิ่งๆขึ้นไป มีกำลังใจที่เข้มแข็ง   อะไรก็ตามที่อธิษฐานแล้วมันเพิ่มกำลังใจและให้เราเห็นคุณค่าของตัวเราเอง หรือเราทำหน้าที่เป็นพิธีกร มาเป็นช่างภาพอย่างนี้ทุกวันเสร็จแล้วอธิษฐานเลย

ด้วยบุญที่ข้าพเจ้ามาทำหน้าที่พิธีกร นำทุกท่านได้สวดมนต์ ทำความดีเป็นต้นบุญต้นแบบ ให้ข้าพเจ้ามีเสียงที่ไพเราะ เป็นผู้นำในการสร้างความดี จะไปชักชวนใครก็มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธิ์ มีเดช มีอำนาจ มีวาสนา เป็นคนที่คิดดี พูดดี ทำแต่ความดี ชักชวนคนทำความดีได้ง่าย

พอเราอธิษฐานเราจะเกิดความปลื้มว่าที่เราทำมันมีคุณค่า มีความหมาย ที่เราได้มาทำหน้าที่เป็นช่างภาพ ช่างวีดีโอ เราได้ถ่ายทอดให้กับคนไม่รู้กี่ล้านคนได้มาดู และเขาได้ฟังธรรม เขาได้เกิดกุศลที่ดี มีเจตนาที่ดีในการทำความดี ใครก็ตามที่ได้ดูวีดีโอที่ข้าพเจ้าถ่าย ให้ข้าพเจ้ามีส่วนในบุญของเขาทั้งหมดเลย ใครเป็นคนดีเราก็ได้บุญด้วย และต่อไปให้แวดล้อมด้วยกัลยาณมิตรที่ดี อย่างนี้ ผิดไหม (ไม่ผิด) เหมือนใคร เหมือนคุณยาย

คุณยายปลูกต้นไม้กับเราปลูกต้นไม้พระอาจารย์ว่าอาจจะไม่เหมือนกัน เราปลูกต้นไม้เป็นยังไง เหนื่อยก็เหนื่อย หนักก็หนัก ร้อนก็ร้อนปลูกทำไมก็ไม่รู้ ต้นแค่นี้ เมื่อไหร่มันจะโต อาจจะบ่น

คุณยายปลูกต้นไม้ คุณยายคิดอะไร เคยอ่านใช่ไหม คุณยายเป็นตัวอย่างให้กับเรา คุณยายปลูกต้นไม้ คุณยายอธิษฐาน ต้นไม้ที่ยายปลูก ต่อไปให้มีคนมานั่งสมาธิ ใครมานั่งสมาธิก็ให้เข้าถึงธรรม คุณยายก็จะได้บุญกับทุกๆคนที่ได้มานั่งใต้ต้นไม้ต้นนี้

พอปลูกแล้วมันปลื้ม อยากจะปลูก จะจองทุกต้นเป็นของเราหมดเลย เพราะเรามองเห็นถึงคุณค่าในสิ่งที่เราทำ

เหมือนคนที่เป็นช่าง ช่างทุกช่าง ช่างก่อสร้าง ที่มาก่อสร้างที่นี่ บางคนก็ได้บุญเยอะนะ ถ้าเขาคิดได้ว่า เรากำลังมาสร้างสถานที่ บุญสถาน ถวายเป็นพุทธบูชาไว้ในพระพุทธศาสนาเขาจะได้บุญมหาศาล

แต่ถ้าเขาคิดว่ามันเป็นหน้าที่เขาจ้างมาก็ทำ บุญก็ไม่เกิด เพราะฉะนั้นการเห็นคุณค่าสำคัญ เราก็ต้องหมั่นตอกย้ำด้วยการอธิษฐานจิต จะเป็นการตอกย้ำเป้าหมายในชีวิตของเราว่า เราทำไปเพื่ออะไร เราทำไปทำไม เราเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายในชีวิตของเรา พอเราหมั่นตอกย้ำบ่อยๆ ก็จะเป็นการเตือนตัวเองบ่อยๆ  เหมือนพุทธสุภาษิต ว่า   ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้ พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น เพราะว่า ความสั่งสมบุญ ทำให้เกิดสุข.

#ฝันในฝัน  #โรงเรียนอนุบาลฝันในฝัน #โรงเรียนอนุบาล #GBNUS.com # GBN


โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2561   พระครูสังฆรักษ์อน...